การพัฒนาหน่วยเรือดำน้ำของประเทศต่าง ๆ ในอาเซียน ของ เรือดำน้ำในอาเซียน

เรือหลวงมัจฉาณุ เป็นเรือดำน้ำของไทยในอดีต
  •  ไทยเคยมีเรือดำน้ำซึ่งเป็นชาติที่ 2 ในเอเชียแต่เป็นชาติแรกในอาเซียนที่มีเรือดำน้ำเข้าประจำการได้แก่ ร.ล.มัจฉาณุ, ร.ล.วิรุณ, ร.ล.สินสมุทร และร.ล.พลายชุมพล โดยทั้ง 4 ลำได้ปฏิบัติการในอ่าวไทยหลายครั้งตั้งแต่สงครามอินโดจีนทั้งการรับและส่งสายลับพลพรรคขบวนการเสรีไทย และการโจมตีเรือของฝ่ายอักษะด้วยตอร์ปิโดซึ่งได้ปลดประจำการแล้วทุกลำในปี พ.ศ. 2494 เนื่องด้วยอายุการใช้งาน ความปลอดภัยและเทคโนโลยีการดำน้ำ ปัจจุบันแม้จะไม่มีอาณาเขตติดต่อกับช่องแคบมะละกา แต่ช่องแคบนี้ก็มีความสำคัญต่อประเทศไทยมากพอ ๆ กับ 3 ประเทศที่กล่าวถึง อ่าวไทยเป็นจุดยุทธศาสตร์ที่สำคัญที่สุดของการเดินเรือเข้า–ออก เรือดำน้ำจะสามารถปฏิบัติการในอ่าวไทยได้ การค้นหาเรือดำน้ำในเขตน้ำตื้นเป็นสิ่งที่ยากเย็นพอสมควร โดยเฉพาะกับเรือเครื่องยนตร์ดีเซล ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปัจจัยต่าง ๆ ทั้งชั้นความเค็มและชั้นความร้อนหรืออุณหภูมิที่มีผลต่อการเดินทางของเสียง ราชนาวีไทยเคยมีโครงการที่จะจัดหาเรือดำน้ำโดยได้รับข้อเสนอที่น่าสนใจจากหลายๆประเทศทั้งเยอรมัน สวีเดน ฝรั่งเศสและรัสเซีย แต่โครงการนี้ไม่เคยประสบความสำเร็จ เนื่องจากติดขัดด้วยปัญหาต่างๆทั้งด้านงบประมาณและปัญหาทางการเมือง แต่ในปี 2013 กองทัพเรือไทยกำลังก่อสร้างอาคารกองเรือดำน้ำและศูนย์ฝึกเรือดำน้ำ ซึ่งจะมีกำหนดแล้วเสร็จประมาณเดือนมีนาคม 2014 ประกอบด้วยศูนย์ฝึกเรือดำน้ำราคา 540 ล้านบาท เครื่องจำลองการฝึกเรือดำน้ำกับค่าการฝึกต่าง ๆ มูลค่า 200 ล้านบาท สำหรับการเตรียมความรู้ให้กับกำลังพลเพื่อรองรับการมีเรือดำน้ำ และกองทัพเรือมีแผนจะจัดซื้อเรือดำน้ำอย่างน้อย 3 ลำในแผนพัฒนากองทัพ 10 ปี[1] แต่ในปี 2014 กองทัพเรือไทยได้เปิดเผยแผนการใหม่ที่จะจัดซื้อเรือดำน้ำใหม่จำนวน 1 ลำ แทนการซื้อเรือลำน้ำที่ใช้แล้วหลายลำตามแผนการก่อนหน้านี้ ซึ่งเปลี่ยนไปจากแผนการเดิมที่เคยพยายามซื้อเรือขนาดเล็กที่ปลดระวางแล้วจากเยอรมนี แต่แผนการถูกล้มเลิกไปในต้นปี 2553 ส่วนลำใหม่จะเป็นเรือที่ต่อในเยอรมนีหรือในเกาหลี ซึ่งแผนการจัดซื้อของราชนาวีอยู่ใน "ชอปปิ้งลิสต์" ประจำปี 2557 ของกองทัพไทย[2]
  •  สิงคโปร์เป็นชาติที่สองในอาเซียนที่มีเรือดำน้ำเข้าประจำการ ซึ่งแม้จะเป็นประเทศเล็ก ๆ แต่สิงคโปร์ก็ตั้งอยู่บนจุดยุทธศาสตร์ที่มีความสำคัญแห่งหนึ่งของโลก คือช่องแคบมะละกา ซึ่งเป็นทางผ่านที่สำคัญของการเดินเรือจากมหาสมุทรอินเดีย ไปสู่ มหาสมุทรแปซิฟิก กองทัพเรือสิงคโปร์มีการพัฒนาที่ก้าวหน้า ไกลกว่าชาติอื่นๆในภูมิภาคนี้ กองทัพเรือสิงคโปร์เริ่มโครงการเรือดำน้ำมือสองจากสวีเดน ชั้นซยอร์แมน จำนวน 4 ลำ เรือทั้ง 4 ลำ เข้ารับการซ่อมใหญ่และปรับปรุงเพื่อให้สามารถปฏิบัติการในเขตร้อนได้ และมีเรือดำน้ำมือสองชั้นอาเชอร์ จากสวีเดน จำนวน 2 ลำ ที่ติดตั้งระบบ AIP ซึ่งล่าสุดก็ได้สั้งซื้อเรือดำน้ำชั้นอินวินซิเบิล (รุ่น Type 218SG) จากเยอรมนี จำนวน 2 ลำ โดยจะได้รับมอบในปี 2020[3]
  •  อินโดนีเซียเป็นชาติที่สามในอาเซียนที่มีเรือดำน้ำเข้าประจำการ โดยเป็นประเทศที่ประกอบด้วยหมู่เกาะน้อยใหญ่นับพันเกาะ ในทศวรรษที่ 1960 กองทัพมีเรือดำน้ำจากสหภาพโซเวียตหลายประเภททั้งเรือลาดตระเวน เรือพิฆาตรวมทั้งเรือดำน้ำชั้นวิสกี ในทศวรรศที่ 1980 กองทัพเรืออินโดนีเซียสั่งต่อเรือดำน้ำชั้น 209 จาก อดีตเยอรมันตะวันตกจำนวน 2 ลำ และได้ลงนามจัดซื้อและต่อเองในประเทศเรือดำน้ำชั้น 209 มือสอง รุ่นปรับปรุง ในชื่อ U-209 1400 mod จากกองทัพเรือเกาหลีใต้ 3 ลำ และได้วางแผนที่จะต่อเรือดำน้ำเองอีก 9 ลำภายใต้ลิขสิทธิ์ U-209 1400 mod ของเกาหลีใต้[4]
  •  มาเลเซียเป็นชาติที่สี่ในอาเซียนที่มีเรือดำน้ำเข้าประจำการ โดยเป็นอีกประเทศที่เป็นส่วนหนึ่งของช่องแคบมะละกาทางชายฝั่งตะวันตก และเป็นอีกประเทศหนึ่งที่อ้างการมีผลประโยชน์ในหมู่เกาะสแปรตลี ซึ่งอยู่ห่างจากรัฐซาบะฮ์ทางตะวันตกเฉียงเหนือ 300 ไมล์ โดยรวมแล้วเมื่อพิจารณาจากการมีชายฝั่งทะเลยาวเหยียด นับตั้งแต่ชายฝั่งตะวันตกเฉียงเหนือติดกับจังหวัดสตูลของไทย เรื่อยมาจนถึงสิงคโปร์ แล้ววกกลับขึ้นไปทางเหนือจนถึงชายแดนส่วนที่ติดกับจังหวัดนราธิวาส รวมทั้งชายฝั่งของรัฐซาราวัค จนถึงหมู่เกาะสแปรทลีย์ สั่งต่อเรือดำน้ำชั้นสคอเปเน จำนวน 2 ลำโครงการ ซึ่งลำแรกจะต่อที่อู่ ดีซีเอ็น ในประเทศฝรั่งเศส และลำที่สองจะต่อที่อู่เรือของไอซาร์ในประเทศสเปน
  •  เวียดนามเป็นชาติที่ห้าในอาเซียนที่มีเรือดำน้ำเข้าประจำการ เหตุผลที่เวียดนามต้องการเรือดำน้ำเนื่องจากประเทศนี้มีข้อพิพาทกับหลายประเทศทางทะเลเวียดนาม ซึ่งจัดหาเรือดำน้ำมือหนึ่งชั้นกิโล จากรัสเซีย จำนวน 6 ลำ ซึ่งจะมีกำหนดส่งมอบเรือครบทั้ง 6 ลำ ภายในปี ค.ศ. 2016 โดยได้รับเข้าประจำการลำแรกในวันที่ 15 มกราคม ค.ศ. 2014[5] ลำที่ 2 ในวันที่ 4 เมษายน ค.ศ. 2014 ลำที่ 3 ภายในเดือนกันยายน ค.ศ. 2014[6]
  •  พม่าเป็นชาติที่หกในอาเซียนที่มีเรือดำน้ำเข้าประจำการ โดยจะได้เรือดำน้ำมือสองชั้นกิโล จากอินเดีย จำนวน 1 ลำ มาใช้เป็นเรือฝึก[7]
  •  ฟิลิปปินส์ต้องการจัดหาเรือดำน้ำดีเซลไฟฟ้า เพื่อเข้าประจำการจำนวน 3 ลำ[8]
ทำเนียบเรือดำน้ำในประเทศอาเซียน[ต้องการอ้างอิง]
ประเทศประจำการปลดประจำการกำลังต่อวางแผนอ้างอิง
 ไทย0413
 สิงคโปร์4222
 อินโดนีเซีย5036
 มาเลเซีย2006[9]
 เวียดนาม6000
 พม่า1000
 ฟิลิปปินส์0003[10]

ใกล้เคียง

เรือด เรือดำน้ำ เรือดำน้ำในอาเซียน เรือด่วนเจ้าพระยา เรือดำน้ำชั้นเวอร์จิเนีย เรือดำน้ำแบบ 039เอ เรือดำน้ำชั้นดอลฟิน เรือดำน้ำยูเครนซาปอริฌเฌีย เรือดำน้ำชั้นไต้ฝุ่น เรือดำน้ำแบบ 206

แหล่งที่มา

WikiPedia: เรือดำน้ำในอาเซียน http://www.bangkokpost.com/news/local/374389/subma... http://rtnpr.blogspot.com/2013/05/blog-post_2306.h... http://rtnpr.blogspot.com/2013/10/blog-post_3948.h... http://www.aseansec.org http://www.manager.co.th/IndoChina/ViewNews.aspx?N... http://www.manager.co.th/IndoChina/ViewNews.aspx?n... http://news.voicetv.co.th/global/48942.html http://shows.voicetv.co.th/voice-news/90027.html http://www.navy.mi.th https://aagth1.blogspot.com/2019/07/kilo.html